วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บรรณานุกรม


การประยุกต์ใช้งานกราฟิก


การประยุกต์ใช้งานกราฟิก
     ในปัจจุบันโลกได้วิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งการใช้งานกราฟิกนั้นสามารถสื่อความหมายได้ ดังนั้นงานกราฟิกนั้น จะช่วยให้มนุษย์สามารถสื่อสารกันได้ เข้าใจกันได้ เกิดจินตนาการร่วมกัน ในการนำสื่อกราฟิกมาใช้งานนั้นไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารทางใด ผู้ที่นำเอาสื่อกราฟิกมาใช้ต้องคำนึงถึงเงื่อนไขและปัญหาเหล่านี้ด้วย คือ เพื่อนำมาใช้ในการขบคิด เพื่อแก้ปัญหา จัดระบบข้อมูล และการนำเอาศิลปะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสื่อสารมากที่สุด นอกจากนี้งานกราฟิกนั้นยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในด้านต่างๆอีกมากมาย เช่น ใช้ในการเป็นสื่อในการเรียน ใช้เพื่อโน้มน้าวจิตใจในการโฆษณา ใช้ในการจัดนิทรรศการต่างๆ หรือใช้ในการจัดแสดงงาน เป็นต้น

ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก



ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก
    
Pixel (Picture + Element )
           หน่วยพื้นฐานของภาพที่เป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆที่บรรจุค่าสี(ลองซูมภาพของเราเข้าไปมากๆแล้วเราจะเห็นสี่เหลี่ยมเล็กๆที่แต่ละสี่เหลี่ยมที่เล็กสุดจะเก็บสีไว้ 1 สี
Resolution(ความละเอียดของภาพ)
คือจำนวน Pixel ต่อพื้นที่หนึ่งหน่วย เช่น
-จำนวนเม็ดสีต่อตารางนิ้ว
pixels  per inch : ppi
dot per inch : dpi
-จำนวนเม็ดสีต่อตารางเซนติเมตร
 pixel per cm :ppi
72 ppi              : งาน Website
100-150 ppi    :งานทั่วไป
300-350 ppi    :งานออกแบบสิ่งพิมพ์ที่ต้องการความคมชัดในการแสดงผลสูง


รูปแบบของภาพ

1.ภาพแบบบิตแมป(Bitmap)หรือราสเตอร์(Raster)คือภาพที่เกิดจากหน่วยภาพเล็กๆมารวมกันจนเป็นภาใหญ่คล้ายจิ๊กซอร์สามารถดูได้โดยการซูมภาพเข้าไป
กล่าวคือภาพเหล่านี้ยิ่งซูม(ขยาย)ยิ่งแตกจนดูไม่รู้เรื่องเช่นภาพนามสกุล .JPEG, .TIFF,.GIF เป็นต้น
2.ภาพแบบเวคเตอร์(Vector)
คือภาพที่เกิดจากเส้นโค้ง, เส้นตรงและคุณสมบัติสีของเส้นนั้นๆที่เกิดจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์(ที่เรามองไม่เห็นด้วยตา)กล่าวคือที่จุดๆหนึ่งของภาพที่เราซูมเข้าไปมันจะเกิดจากการกำหนดคุณสมบัติไว้ว่าภาพเกิดจากเส้นตรงหรือเส้นโค้งที่เอียงกี่องศาเก็บค่ารหัสสีอะไรไว้เมื่อเราซูมขยายภาพไม่ว่าจะขนาดเท่าไหร่ก็ตามภาพมันจะไม่แตก(ไม่สูยเสียความละเอียดไป)เพราะการซูมภาพเป็นการคูณจำนวนเท่าลงไปที่คุณสมบัติภาพนั่นเองดังนั้นถ้าเราแก้ไขภาพก็คือไปแก้ไขคุณสมบัติทางคณิตศาสตร์ไม่ว่าจะย่อหรือขยายกี่ครั้งภาพแบบนี้จะยังคมชัดเท่าเดิมภาพVector เหล่านี้ได้แก่
-ภาพ .wmf (Clipart ที่เราไว้ตกแต่งใน Microsoft Office นั่นเอง)

-ภาพใน Adobe Illustrator, Macromedia Freehand


ชนิดของภาพสำหรับงานกราฟฟิก 

1.JPEG(Joint Photograhic's Experts Group)
จุดเด่น
-สนับสนุนสีได้มากถึง 24 bit
-สามารถกำหนดคุณภาพ และตั้งค่าการบีบอัดไฟล์ภาพได้
-ใช้ใน Internet(Worl Wild Web) มีนามสกุล.jpg
-มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
-เรียกดูภาพได้ใน Graphic Browser ทุกตัว
จุดด้อย
-ไม่สามารถทำให้พื้นที่ของภาพเป็นแบบโปร่งใสได้(Transparent/Opacity)
-หากกำหนดค่าการบบอัดไว้สูงเมื่อส่งภาพจาก Server(แม่ข่าย)--->Client(ลูกข่าย)จะทำให้การแสดงผลช้า
เพราะต้องเสียเวลาในการขยายไฟล์

2.TIFF(Tag Image File Format)
มักใช้ในงานสิ่งพิมพ์-Desktop publishing, 3D application, Faxing, Medical Imaging Applicationภาพที่เราทำและตกแต่งในPhotoshop และ Microsoft PowerPoint ไม่ว่าจะเซฟมาเป็นนามสกุลอะไรก็ตาม ตอนส่งเข้าเครื่องพิมพ์ที่โรงพิมพ์เขาจะแปลงไฟล์และส่งเข้าเครื่องในนามสกุล .TIFF เท่านั้นดังนั้นถ้าท่านออกแบบสิ่งพิมพ์ใน Photoshop หรือ MicrosoftPowerPointขอให้เซฟงานเป็นนามสกุล .TIFF ไปเลยโดยรูปแบบของ TIFF มีหลายประเภทคือ -Grayscale, Color Pallete, RGB full color

จุดเด่น
-เป็นรูปแบบที่ทำให้ภาพแบบราสเตอร์หรือบิตแมปสามารถใช้งานร่วมกับ Appicationต่างๆรวมทั้งโปรแกรมจัดการภาพจากScaner
จุดด้อย
-ไฟล์ภาพขนาดใหญ่เพราะต้องเก็บรายละเอียดความคมชัดไว้สูง




3.GIF(Graphics Interchange Format)
จุดเด่น
-เป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับภาพที่จะแสดงบน Web/Internet
-มีขนาดเล็กมาก
-สามารถทำพื้นให้เป็นแบบโปร่งใสได้(Transparent/Opacity)
-สามารถทำเป็นภาพเคลื่อนไหวบนWebPageได้ โดยใช้เครื่องมือช่วยสร้างเช่น JAVA, Flash
-มีโปรแกรมสนับสนุนในการสร้างจำนวนมาก
-สามารถเรียกดูภาพได้ใน Graphic Browser ทุกตัว
จุดด้อย
-แสงภาพได้เพียง 256 สีเท่านั้นไม่เหมาะสำหรับการนำเสนอภาพถ่ายหรืองานที่ต้องการความคมชัดสูง

4.PNG(Portable Network Graphics)
จุดเด่น
-เอาคุณสมบัติของ(JPEG+GIF) มาใช้คือ สีมากกว่า 256สีและโปร่งใสได้(Transparent)
-PNG มีการบีบอัดข้อมูลโดยไม่เสียคุณภาพ
-ทำให้โปร่งใสได้(Transparency) และยังสามารถควบคุมองศาของความโปร่งใส(Opacity)ได้ด้วย
-เก็บบันทึกภาพด้วยสีจริง(True Color) ได้เช่นเดียวกับตารางสี(Pallete) และสีเทา(Grayscale)แบบ GIF
จุดด้อย
-ไม่สนับสนุนภาพเคลื่อนไหวเพราะไม่สามารถเก็บภาพหลายๆภาพไว้ด้วยกันได้
5.BMP (Bitmap)
     ไฟล์ภาพประเภทที่เก็บจุดของภาพแบบจุดต่อจุดตรงๆเรียกว่าไฟล์แบบ บิตแมพ(Bitmap ) ไฟล์ประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่แต่สามารถเก็บรายละเอียดของภาพได้อย่างสมบูรณ์แต่เนื่องจากการเก็บแบบBitmap ใช้เนื้อที่ในการเก็บจำนวนมากจึงได้มีการคิดค้นวิธีการเก็บภาพให้มีขนาดเล็กลงโดยยังคงสามารถเก็บภาพได้เช่นเดิมขึ้นมาหลายวิธีการ เช่น JPEG และ GIF

สีและแสงที่ใช้ในงานกราฟิก

สีและแสงที่ใช้ในงานกราฟิก  
 ปกติเมื่อพูดถึงสี มักจะนึกถึงแม่สี 3 สีแต่อย่างไรก็ตามการใช้สีกับงานกราฟิกในคอมพิวเตอร์ มีรายละเอียดหลายประการ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ   ดังนั้นจึงควรทราบระบบสี
ีของคอมพิวเตอร์ก่อน ระบบสีของคอมพิวเตอร์จะเกี่ยวข้องกับการแสดงผลแสงที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะการแสดงผล คือถ้าไม่มีแสดงผลสีใดเลย บนจอภาพจะแสดงเป็น "สีดำ" หากสีทุกสีแสดงผลพร้อมกันจะเห็นสีบนจอภาพเป็น "สีขาว" ส่วนสีอื่นๆ เกิดจากการแสดงสีหลายๆ สีแต่มีค่าแตกต่างกัน การแสดงผลลักษณะนี้ เรียกว่า การแสดงสีระบบ Addivtive
สีที่ใช้ในงานด้านกราฟิกทั่วไป มี 4 ระบบ คือ
             1. RGB
             2. CMYK
             3. HSB
             4. LAB
1. RGB
           เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3 สี คือแดง ( Red), เขียว ( Green)และน้ำเงิน ( Blue)เมื่อนำมาผสมผสานกันทำให้เกิดสีต่างๆ บนจอคอมพิวเตอร์มากถึง 16.7 ล้านสี   ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นปกติสีที่ได้จากการผสมสีขึ้นอยู่กับความเข้มของสี โดยถ้าสีมีความเข้มมากเมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดเป็นสีขาว จึงเรียกระบบสีนี้แบบ     Additive หรือการผสมสีแบบบวก
http://www.punyisa.com/photoshop/graphic/pic/rgb.gif
http://www.punyisa.com/photoshop/graphic/pic/cmyk.gif

2.  CMYK
          
เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษหรือวัสดุผิวเรียบอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วย สีหลัก 4 สี คือสีฟ้า (Cyan),สีม่วงแดง (Magenta), สีเหลือง (Yellow)และสีดำ (Black)
     เมื่อนำมาผสมกันจะเกิดสีเป็นสีดำแต่จะไม่ดำสนิท เนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่บริสุทธิ์ จึงเป็นการผสมสีแบบลบ (Subtractive) หลักการเกิดสีของระบบนี้ คือหมึกสีหนึ่งจะดูด
     กลืนแสงจากสีหนึ่งแล้วสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่าง ๆ เช่นสีฟ้าดูดกลืนแสงของสีม่วงแล้วสะท้อนออกมาเป็นสีน้ำเงินซึ่งจะสังเกตได้ว่าสีที่สะท้อนออกมาจะเป็นสีหลัก

http://www.punyisa.com/photoshop/graphic/pic/hsb.jpg3.   HSB
            
เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ Hue คือ สีต่าง ๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตาของเราซึ่งมักจะเรียกสีตามชื่อสี เช่น สีเขียว สีเหลือง สีแดง เป็นต้น Saturation คือ ความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนด Saturation ที่ 0 สีจะมีความสดน้อย แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก Brightness คือ ระดับความสว่างของสีโดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 ความสว่างจะน้อยซึ่งจะเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสว่างมากที่สุด
http://www.punyisa.com/photoshop/graphic/pic/Lab.jpg4.  LAB
       
    เป็นระบบสีที่ไม่ขึ้นกับอุปกรณ์ใด ๆ (Device Independent) โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
                   "L" หรือ Luminance เป็นการกำหนดความสว่าง ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 จะกลายเป็นสีดำแต่ถ้ากำหนดที่ 100 จะเป็นสีขาว
                   "A" เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง
                   "B" เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปเหลือง

หลักการทำงานและการแสดงผลของภาพกราฟิก


หลักการทำงานและการแสดงผลของภาพกราฟิก

หลักการของกราฟิกแบบ Raster
หลักการของกราฟิกแบบ Raster หรือแบบ Bitmap เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ว่าพิกเซล ในการสร้างภาพกราฟิกจะต้องกำหนดจำนวนของพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลมากก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่  ดังนั้นการกำหนดพิกเซลควรกำหนดให้เหมาะสมกับงานที่สร้าง คือ
•  การใช้งานทั่ว ๆ ไป กำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 100-150 ppi (Pixel/inch) หรือจำนวนพิกเซลต่อ 1 ตารางนิ้ว
•  งานที่ต้องการความละเอียดน้อยและแฟ้มภาพมีขนาดเล็ก เช่น ภาพสำหรับใช้กับเว็บไซต์จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 72 ppi
•  งานพิมพ์ เช่น นิตยสาร โปสเตอร์ขนาดใหญ่ จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 300-350
ข้อดีของภาพกราฟิกแบบ Raster คือ สามารถแก้ไขปรับแต่งสีตกแต่งภาพ ได้ง่ายและสวยงาม โปรแกรมที่นิยมใช้ คือ Paint, Adobe Photoshop

หลักการของกราฟิกแบบ Vector
เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน แยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพไม่ลดลง แฟ้มมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector นิยมใช้เพื่องานสถาปัตย์ตกแต่งภายใน และการออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก การสร้างการ์ตูน เป็นต้น โปรแกรมที่นิยม คือ โปรแกรม Illustrator , CorelDraw , AutoCAD , 3Ds max

ประเภทของภาพกราฟิก


ประเภทของภาพกราฟิก
การสร้างภาพกราฟิกด้วยคอมพิวเตอร์ มีวิธีการสร้าง 2 แบบ คือ แบบบิตแมพ (Bit Mapped) และแบบเวกเตอร์ (Vector) หรือสโตรก (Stroked) แต่ละแบบวิธีการรสร้างภาพดังต่อไปนี้
กราฟิกแบบบิตแมป
      กราฟิกแบบบิตแมปความหมาย คือ มีลักษณะเป็นช่องๆ เหมือนตาราง แต่ละบิตก็คือส่วนหนึ่งของข้อมูลคอมพิวเตอร์ (ซึ่งก็คือสวิตซ์ปิดเปิดในหน่วยความจำ "1" หมายถึงเปิด และ "0" หมายถึงปิด)และสวิตซ์ปิดเปิดนี้ก็ยังหมายถึงสีดำและสีขาวอีกด้วย ดังนั้นถ้าเราเอาบิตที่แตกต่างกันในแต่ละตารางมารวมกันเข้าเราจะสามารถสร้างภาพจากจุดดำและขาวเหล่านี้ได้กราฟิกแบบบิตแมปทุกชนิดมีลักษณะที่เหมือนกันอยู่บางประการ ถ้าทำความเข้าใจส่วนต่างๆเหล่านี้ เราสามารถที่จะป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้

กราฟิกแบบเวกเตอร์
ภาพกราฟิกแบบ Vector เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง แฟ้มมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector นิยมใช้เพื่องานสถาปัตยกรรมตกแต่งภายใน และการออกแบบต่าง ๆ ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพแบบ Vector คือ โปรแกรม Illustrator, CorrelDraw, 3DsMax แต่อุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลภาพ เช่น จอคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องพิมพ์ จะเป็นการแสดงผลภาพแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector ที่ขยายใหญ่ขึ้น ความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง

ลักษณะและความหมายของ Pixel
                 ในโลกของกราฟิกที่ใช้ในงานคอมพิวเตอร์ Pixel ถือเป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของรูปภาพ เป็นจุดเล็กๆ ที่รวมกันทำให้เกิดภาพขึ้น ซึ่งแต่ละภาพที่สร้างขึ้นจะมีความหนาแน่นของจุด Pixel เหล่านี้แตกต่างกันไป ซึ่งความหนาแน่นของจุดนี้เป็นตัวบอกถึงความละเอียดของภาพ









ความแตกต่างระหว่างกราฟิกแบบ Bitmap และ Vector
Bitmap
1. ลักษณะภาพประกอบขึ้นด้วยจุดต่างๆ มากมาย
2. ภาพมีจำนวนพิกเซลคงที่จึงต้องการค่าความละเอียดมากขึ้นเมื่อขยายภาพ โดยจะคำนวณค่าสีทีละ pixels ทำให้ภาพแตกเมื่อขยายภาพให้ใหญ่
3. เหมาะสำหรับงานกราฟิก ในแบบต้องการให้แสงเงาในรายละเอียด
4. แสดงภาพบนจอทันที เมื่อรับคำสั่งย้ายข้อมูลจากหน่วยความจำที่เก็บภาพไปยังหน่วยความจำของจอภาพ

Vector
1. ใช้สมการทางคณิตศาสตร์เป็นตัวสร้างภาพ โดยรวมเอา Object (เช่น วงกลม เส้นตรง) ต่างชนิดมาผสมกัน
2. สามารถย่อและขยายขนาดได้มากกว่า โดยสัดส่วนและลักษณะของภาพยังเหมือนเดิม ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง
3. เหมาะสำหรับงานแบบวาง Layout งานพิมพ์ตัวอักษร Line Art หรือ Illustration
4. คอมพิวเตอร์จะใช้เวลาในการแสดงภาพมากกว่า เนื่องจากต้องทำตามคำสั่งที่มีจำนวนมากกว่า

ความหมายเกี่ยวกับกราฟิก


ความหมายเกี่ยวกับกราฟิก
               " กราฟิก " ( Graphic ) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikosหมายถึง การเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำ และคำว่า " Graphein " มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้นเมื่อรวมทั้งคำ Graphikosและ Grapheinเข้าด้วยกันวัสดุกราฟิกจะหมายถึงวัสดุใด ๆซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียนและอักษรข้อความรวมกัน ภาพวาดอาจจะเป็น แผนภาพ ( Diagram ) ภาพสเก็ต ( Sketch ) หรือแผนสถิติ ( Graph ) หรืออาจเป็นคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง ( Title ) คำอธิบายเพิ่มเติมของแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ และภาพโฆษณาอาจวาดเป็นการ์ตูนในรูปแบบหรือประเภทต่างๆ ภาพสเก็ต สัญลักษณ์ และภาพถ่ายสามารถใช้เป็นวัสดุกราฟิกเพื่อสื่อความหมายในเรื่องราวที่แสดงข้อเท็จจริงต่างๆได้

บทบาทและความสำคัญของกราฟฟิก



บทบาทและความสำคัญของกราฟิก
-งานกราฟิกต่าง ๆ  ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนแก่นสารของประสบการณ์สำหรับมนุษย์
  เพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นสื่อในการคิดและสื่อสารความหมายถึงกัน 
  ด้วยคุณสมบัติที่ดีของงานกราฟิกทำให้งานกราฟิกมีบทบาทสำคัญในการลดข้อจำกัดต่างๆ 
ที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนเวลา  ประสิทธิภาพของการคิด   การบันทึกและการจำ  
 ทำให้การสื่อความหมายต่อกันของมนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  
 และด้วยความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ   ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  
จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นและความเป็นโลกไร้พรมแดน  ความแตกต่างระหว่างบุคคล 
เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้มนุษย์จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับงานกราฟิกมากขึ้น         
  1)  ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ   
  มนุษย์ประสบความสำเร็จในการค้นพบความจริงและกระบวนการทางธรรมชาติมากมาย 
 ความรู้ที่ค้นพบใหม่นี้  ต้องการวิธีการและกระบวนการในการเก็บบันทึก  การจำ  และเผยแพร่ 
 การใช้งานกราฟิกช่วยจะทำให้ได้ข้อมูลที่สามารถสื่อสารความหมายให้เข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว
  สื่อความคิดถึงกันและกันได้ชัดเจนถูกต้อง  เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน
  2)  ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 
  เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมากในปัจจุบัน 
ทำให้เกิดเครื่องมือสำหรับสร้างงานกราฟิกที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 
สามารถผลิตงานได้ รวดเร็ว  มีปริมาณมาก  ง่ายต่อการใช้งาน  ราคาถูกลง 
 และเผยแพร่ได้สะดวกกว้างไกล โดยเฉพาะการใช้คอมพิวเตอร์ในงานกราฟิก
 และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ความนิยมใช้งานกราฟิกช่วยในการสื่อความหมายจึงเกิดขึ้นแพร่หลายในสื่อเกือบทุกประเภท

3)  จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นและความเป็นโลกไร้พรมแดน 
 ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว  การคมนาคมที่สามารถเดินทางไปทั่วทุกมุมโลกด้วยเวลาไม่มากนัก 
 และ การสื่อสารที่มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลก  ทำให้เกิดความจำเป็นต่อการสื่อความหมายทางไกลระหว่างบุคคล
และการสื่อความหมายกับประชากรกลุ่มใหญ่ในมุมต่าง ๆ ของโลก  เพื่อดำเนินการถ่ายทอดความรู้
  แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม  ความร่วมมือทางวิชาการ  ธุรกิจ และอื่น ๆ
ทุกสิ่งทุกอย่างต้องดำเนินการด้วยข้อจำกัดของเงื่อนเวลาและประสิทธิภาพของการสื่อความหมาย 
 งานกราฟิกจึงเป็นเครื่องผ่อนแรงให้การสื่อความหมาย  สามารถสื่อสารได้เข้าใจง่ายและถูกต้องในเวลาสั้น
4)  ความแตกต่างระว่างบุคคล  บุคคลแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านต่าง ๆ เช่น ความคิด
  ความเข้าใจ  ความสามารถ  อัตราการเรียนรู้  วิธีการเรียนรู้ และอื่น ๆ 
 ความแตกต่างเหล่านี้ทำให้การสื่อความหมายด้วยภาษาพูดและภาษาเขียนในบางครั้งไม่สามารถสร้างความเข้าใจได้ง่ายนัก การใช้งานกราฟิกเข้าช่วยจะทำให้ง่ายต่อการสื่อความหมาย  เพิ่มประสิทธิภาพของการคิดในบุคคลที่มีความแตกต่างได้เป็นอย่างดี



ประวัติความเป็นมาของกราฟิก


ประวัติความเป็นมาของกราฟิก
งานกราฟิก มีประวัติความเป็นมาตามหลักฐานในอดีตเมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการขีดเขียน ขูด จารึกเป็นร่องรอยให้ปรากฏเป็นหลักฐานในปัจจุบัน การออกแบบกราฟิกสมัยก่อนประวัติศาสตร์จึงเป็นการเริ่มต้นการสื่อความหมายด้วยการวาดเขียน ให้ผู้อ่านตีความหมายได้เรียกว่า Pictogram เช่นภาพคน ภาพสัตว์ ต้นไม้ ไว้บนผนังหรือบนเพดานถ้ำและมีการแกะสลักลงบนเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ซึ่งใช้วิธีการวาดอย่างง่ายๆไม่มีรายละเอียดมาก     ต่อมาประมาณ 9000 ปีก่อนคริสต์กาล ชาว Sumerienในแคว้นเมโสโปเตเมีย ได้เริ่มเขียนตัวอักษรรูปลิ่ม (Cuneiform) และตัวอักษร Hieroglyphic ของชาวอียิปต์งานกราฟิกเริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้น เมื่อได้คิดค้นกระดาษและวิธีการพิมพ์ ปีค.ศ.1440 Johann Gutenberg ชาวเยอรมัน ได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แบบตัวเรียงที่สามารถพิมพ์ได้หลายครั้ง ครั้งละจำนวนมากๆ
 ในปี ค.ศ.1950 การออกแบบได้ชื่อว่าเป็น Typographical Style เป็นการพัฒนาโดยนักออกแบบชาวสวิสได้นำวิธีการจัดวางตัวอักษรข้อความและภาพเป็นคอลัมภ์มีการใช้ตารางช่วยให้อ่านง่ายมีความเป็นระเบียบ สวยงามมีการจัดแถวของข้อความแบบชิดขอบด้านหน้าและด้านหลังตรงเสมอกัน   ตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา การออกแบบกราฟิกได้พัฒนาและขยายขอบเขตงานออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดอยู่แต่ในสิ่งพิมพ์เท่านั้นโดยได้เข้าไปอยู่ในกระบวนการสื่อสารอื่นๆเช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วีดิทัศน์การถ่ายภาพ โปสเตอร์ การโฆษณา ฯลฯ  การออกแบบกราฟิกปัจจุบันเป็นยุคของอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ได้นำเครื่องมือ เครื่องใช้วัสดุอุปกรณ์ วัสดุสำเร็จรูป มาช่วยในการออกแบบกราฟิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ ( Computer Graphics ) มีโปรแกรมด้านการจัดพิมพ์ตัวอักษรที่นิยมกันมากคือ Microsoft Word สามารถจัดเรียงวางรูปแบบ สร้างภาพ กราฟ แผนภูมิ จัดการและสร้างสรรค์ตัวอักษรโปรแกรมอื่นๆที่สนับสนุนงานกราฟิกอีกมากมาย เช่น Adobe Photoshop / Illustrator / PageMaker / CorelDraw / 3D Studio / LightWave 3D / AutoCadฯลฯนอกจากนี้ยังมีโปรแกรมที่ช่วยให้สามารถสร้างสรรค์งานกราฟิกบนเว็บ อีกมากเช่น Ulead Cool / Animagic GIF / Banner Maker เป็นต้น
           ปัจจุบันงานคอมพิวเตอร์กราฟิก จึงเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการออกแบบและสร้างสรรค์งานกราฟิกอย่างกว้างขวาง เนื่องจากให้ความสะดวก รวดเร็วแก้ไขงาน ทำซ้ำงานทำได้ง่าย ตลอดจนการสั่งพิมพ์หรือบันทึกเพื่อการพกพาในรูปแบบอื่นๆได้หลายวิธี
�า�� � � x�x `z าติมากมาย 
 ความรู้ที่ค้นพบใหม่นี้  ต้องการวิธีการและกระบวนการในการเก็บบันทึก  การจำ  และเผยแพร่ 
 การใช้งานกราฟิกช่วยจะทำให้ได้ข้อมูลที่สามารถสื่อสารความหมายให้เข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว
  สื่อความคิดถึงกันและกันได้ชัดเจนถูกต้อง  เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน
  2)  ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 
  เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมากในปัจจุบัน 
ทำให้เกิดเครื่องมือสำหรับสร้างงานกราฟิกที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 
สามารถผลิตงานได้ รวดเร็ว  มีปริมาณมาก  ง่ายต่อการใช้งาน  ราคาถูกลง 
 และเผยแพร่ได้สะดวกกว้างไกล โดยเฉพาะการใช้คอมพิวเตอร์ในงานกราฟิก
 และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ความนิยมใช้งานกราฟิกช่วยในการสื่อความหมายจึงเกิดขึ้นแพร่หลายในสื่อเกือบทุกประเภท

3)  จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นและความเป็นโลกไร้พรมแดน 
 ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว  การคมนาคมที่สามารถเดินทางไปทั่วทุกมุมโลกด้วยเวลาไม่มากนัก 
 และ การสื่อสารที่มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลก  ทำให้เกิดความจำเป็นต่อการสื่อความหมายทางไกลระหว่างบุคคล
และการสื่อความหมายกับประชากรกลุ่มใหญ่ในมุมต่าง ๆ ของโลก  เพื่อดำเนินการถ่ายทอดความรู้
  แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม  ความร่วมมือทางวิชาการ  ธุรกิจ และอื่น ๆ
ทุกสิ่งทุกอย่างต้องดำเนินการด้วยข้อจำกัดของเงื่อนเวลาและประสิทธิภาพของการสื่อความหมาย 
 งานกราฟิกจึงเป็นเครื่องผ่อนแรงให้การสื่อความหมาย  สามารถสื่อสารได้เข้าใจง่ายและถูกต้องในเวลาสั้น
4)  ความแตกต่างระว่างบุคคล  บุคคลแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านต่าง ๆ เช่น ความคิด
  ความเข้าใจ  ความสามารถ  อัตราการเรียนรู้  วิธีการเรียนรู้ และอื่น ๆ 
 ความแตกต่างเหล่านี้ทำให้การสื่อความหมายด้วยภาษาพูดและภาษาเขียนในบางครั้งไม่สามารถสร้างความเข้าใจได้ง่ายนัก 
การใช้งานกราฟิกเข้าช่วยจะทำให้ง่ายต่อการสื่อความหมาย  เพิ่มประสิทธิภาพของการคิดในบุคคลที่มีความแตกต่างได้เป็นอย่างดี